ข้อใดแบ่งประเภทของแผนที่ตามลักษณะการใช้ได้ถูกต้อง
- แผนที่อ้างอิง แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่เล่ม
- แผนที่อ้างอิง แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เล่ม
- แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่รัฐกิจ
- แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เล่ม แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่
แผนที่เล่มเป็นแผนที่ที่รวมแผนที่ชนิดใดเข้าด้วยกันเป็นเล่มเดียว
- แผนที่หลาย ๆ ชนิด
- แผนที่รัฐกิจหลาย ๆ ชนิด
- แผนที่รัฐกิจและแผนที่อ้างอิง
- แผนที่รัฐกิจและแผนที่ธรณีวิทยา
ชื่อแผนที่ในข้อใดที่ทำให้เรารู้ได้ว่าแผนที่นั้น ไม่ใช่ แผนที่เฉพาะเรื่อง
- แผนที่กายภาพจังหวัดกาญจนบุรี
- แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี
- แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดกาญจนบุรี
- แผนที่เขตการปกครองจังหวัดกาญจนบุรี
องค์ประกอบของแผนที่ใดเป็นองค์ประกอบแรก ที่บอกให้เรารู้ว่าแผนที่นั้นเป็นแผนที่อะไร
- ชื่อแผนที่
- มาตราส่วน
- ทิศ
- ชื่อภูมิศาสตร์
ชื่อภูมิศาสตร์ใดที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้ตัวเอน และใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
- มหาสมุทร
- ทวีป
- ช่องแคบ
- เมืองหลวง
ข้อใดกล่าวถึงทิศเหนือกริดได้ถูกต้อง
- ทิศเหนือตามแนวเส้นฉากทางดิ่ง
- ทิศที่ใช้สัญลักษณ์เป็นเส้นตรง
- ทิศเหนือตามแนวเส้นเมริเดียน
- ทิศที่ใช้สัญลักษณ์ลูกศรครึ่งซีก
ชื่อภูมิศาสตร์ในข้อใดเขียนไม่ถูกต้อง
- แม่น้ำโขง Mekong River
- ประเทศไทย THAILAND
- กรุงเทพมหานคร Bangkok
- ที่ราบสูงทิเบต TIBETAN PLATEUA
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- ชื่อแผนที่และมาตราส่วนต้องปรากฏภายในขอบระวาง
- ชื่อภูมิศาสตร์ ตามปกติอักษรภาษาไทยใช้สีแดง อักษรภาษาอังกฤษใช้สีดำ
- สัญลักษณ์สี ตามปกติ สีเขียวใช้แทนพืชพันธ์
- สัญลักษณ์สี ตามปกติ สีดำใช้แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ชื่อภูมิศาสตร์ในข้อใดเขียนได้ถูกต้อง
- Mekong River
- Asia
- BANGKOK
- SIRIKIT DAM
ชื่อภูมิศาสตร์ภาษาอังกฤษของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และแหล่งอารยธรรมโบราณควรเขียนอย่างไร
- ใช้ตัวเอน ตัวพิมพ์ใหญ่ตัวแรก ต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก
- ใช้ตัวเอน ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
- ใช้ตัวตรง ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
- ใช้ตัวตรง ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก
ชื่อภูมิศาสตร์ใดที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้ตัวเอน และใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
- มหาสมุทร
- ทวีป
- ช่องแคบ
- เมืองหลวง
ข้อใดอธิบายลักษณะของเส้นแบ่งเขตประเทศได้ถูกต้อง
- เป็นเส้นตรงมีจุด 2 จุด คั่นอยู่ระหว่างเส้นตรง 2 เส้น
- เป็นเส้นคดโค้งไปมา
- เป็นเส้นตรงยาว หนา และมีสีแดง
- เป็นเส้นตรงมีขีดแนวตั้งสั้น ๆ พาดอยู่หลายเส้น
ตัวอักษรใดที่อยู่ข้างบนของทิศเหนือกริดในแผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1:50,000
- GN
- GD
- MN
- MD
ข้อใดเขียนค่ามุมแบริงจากแนว กค ในรูปที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
- N 60° W
- W 30° N
- S 330° W
- S 60° W
ข้อใดคือค่ามุมอะซิมุทจากแนว กค ในรูปที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
- อะซิมุท 300 องศา
- อะซิมุท 30 องศา
- อะซิมุท 60 องศา
- อะซิมุท 270 องศา
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน ขนาดใหญ่
- เหมาะสำหรับแสดงพื้นที่ขนาดเล็ก
- แสดงเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญ
- ไม่สามารถแสดงข้อมูลปลีกย่อยได้
- มีมาตราส่วนตั้งแต่ 1:50,000 ขึ้นไป
มุมอะซิมุทที่วัดจากที่วัดจากเส้นฐานเหนือจริงเรียกว่ามุมอะไร
- มุมอะซิมุทจริง
- มุมอะซิมุท
- มุมอะซิมุทกริด
- มุมอะซิมุทเหนือจริง
หน่วยความยาวใดที่นิยมใช้ในมาตราส่วนเส้นและมาตราส่วนรูปแท่ง
- กิโลเมตร
- เมตร
- มิลลิเมตร
- เซนติเมตร
มาตราส่วนคำพูด 1 : 250,000 ถ้านักเรียนต้องการวัดระยะทางให้ได้ 18 กิโลเมตร นักเรียนจะต้องวัดให้ได้ระยะทางในแผนที่กี่เซนติเมตร
- 7.2 เซนติเมตร
- 5.2 เซนติเมตร
- 6.2 เซนติเมตร
- 8.2 เซนติเมตร
ถ้าวัดระยะทางในแผนที่มาตราส่วน 1:100,000 ได้ 27.5 เซนติเมตร แสดงว่าในภูมิประเทศจริงมีระยะทางเท่าไร
- 27.5 กิโลเมตร
- 275 กิโลเมตร
- 2.75 กิโลเมตร
- 0.275 กิโลเมตร
สมชายเดินทางโดยรถยนต์จากตำบล ก. ไปยังอำเภอ ข. หน้าปัดรถยนต์บอกระยะทางได้ 40 ไมล์ สมชายต้องเขียนระทาง จากตำบล ก. ไปยังอำเภอ ข. ลงในแผนที่โดยใช้มาตราส่วน 1 ซ.ม. ต่อ 2 ก.ม. ระยะทางในแผนที่ตำบล ก. ไปยังอำเภอ ข. จะยาวเท่าไร
- 32 ซ.ม.
- 20 ซ.ม.
- 64 ซ.ม.
- 40 ซ.ม.
ข้อใดเขียนค่ามุมแบริงจากแนว กค ในรูปที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
- N 45° W
- W 45° N
- S 135° W
- S 225° W
แนว กข มีค่ามุมแบริงเป็นเท่าไร
- มุมแบริงใต้ 45 องศาตะวันออก
- มุมแบริงใต้ 135 องศาตะวันออก
- มุมแบริงเหนือ 45 องศาตะวันออก
- มุมแบริงเหนือ 135 องศาตะวันออก
ข้อใดอธิบายลักษณะของเส้นแบ่งเขตประเทศได้ถูกต้อง
- เป็นเส้นตรงมีจุด 2 จุด คั่นอยู่ระหว่างเส้นตรง 2 เส้น
- เป็นเส้นคดโค้งไปมา
- เป็นเส้นตรงยาว หนา และมีสีแดง
- เป็นเส้นตรงมีขีดแนวตั้งสั้น ๆ พาดอยู่หลายเส้น
สัญลักษณ์นี้ใช้แทนสิ่งใดในแผนที่
- ทุ่งนา
- บึงน้ำ
- ที่ชื้นแฉะ
- ป่าชายเลน
เส้นชั้นความสูงในแผนที่ภูมิประเทศนิยมใช้เส้นสีใด
- สีน้ำตาล
- สีดำ
- สีแดง
- สีเขียว
เส้นชั้นความสูง (contour line) ในข้อนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นอะไร
- เนินเขา
- ภูเขา
- ที่ราบสูง
- ที่ราบ
บริเวณเทือกเขาที่มีความสูงชันมากๆ เส้นชั้นความสูง (contour line) จะมีลักษณะอย่างไร
- เส้นจะเรียงชิดติดกัน
- เส้นจะห่างกันมาก
- เส้นจะคดโค้งเป็นรูปตัวยู
- เส้นจะคดโค้งเป็นรูปตัววี
แถบสีขาวมักใช้แทนภูเขาที่มีลักษณะเป็นอย่างไร
- ภูเขามีหิมะปกคลุม
- ภูเขาหินปูน
- ภูเขายอดป้าน
- ภูเขายอดแหลม
ลักษณะเส้นชั้นความสูงที่เรียงอยู่ชิดกันบริเวณยอดแล้วค่อย ๆ ขยายออกห่างบริเวณฐาน มีลักษณะ ภูมิประเทศเป็นแบบใด
- ลาดเว้า
- ลาดชัน
- ลาดนูน
- ลาดสม่ำเสมอ
ในพื้นที่ที่ลาดเทมาก ลักษณะของเส้นลายขวานสับจะเป็นเช่นไร
- ขีดยาว บาง อยู่ห่างกัน
- ขีดยาว บาง อยู่ชิดกัน
- ขีดสั้น หนา อยู่ชิดกัน
- ขีดสั้น หนา อยู่ห่างกัน
ข้อใดใช้แถบสีแทนพื้นที่เรียงจากภูเขา ที่ราบสูง ที่ต่ำ และทะเล ได้เหมาะสมที่สุด
- สีน้ำตาล สีเหลืองแก่ สีเขียว สีน้ำเงิน
- สีเหลือง สีน้ำตาล สีเขียว สีฟ้าอ่อน
- สีเหลือง สีเหลืองแก่ สีขาว สีฟ้าอ่อน
- สีน้ำตาล สีเขียวแก่ สีเหลืองแก่ สีน้ำเงิน
การแรเงาเพื่อแสดงความสูง–ต่ำของภูมิประเทศมักแรเงาให้เหมือนกับว่ามีแสงทำมุมอยู่กี่องศา
- 45 องศา
- 90 องศา
- 135 องศา
- 180 องศา
องค์ประกอบในข้อใดอยู่ภายในขอบระวาง
- ชื่อภูมิศาสตร์
- ศัพทานุกรม
- มาตราส่วน
- ชื่อระวาง
บันทึกบนแผนที่เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ Edition note บันทึกไว้ดังนี้ “1- RTSD” หมายความว่าอย่างไร
- ครั้งที่พิมพ์ และหน่วยงานที่จัดพิมพ์แผนที่ระวางนั้น
- ชุดที่พิมพ์และบริเวณที่แสดงบนพื้นที่ชุดนั้น
- ระวางที่พิมพ์และบริษัทที่จัดพิมพ์แผนที่ระวางนั้น
- ลำดับของแผนที่และหน่วยงานที่แสดงบนแผนที่ชุดนั้น
ข้อใดหมายถึง ชื่อหมายเลขระวางแผนที่ Sheet Number
- 5135 II
- THAILAND 1: 50,000 WGS 84
- L7018
- 1-RTSD
ข้อใดหมายถึง ชื่อหมายเลขประจำชุดของแผนที่ Series Number
- L7018
- THAILAND 1: 50,000 WGS 84
- 5135 II
- 1-RTSD
ตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ในข้อใดตั้งอยู่ในเขตทรอปิกของซีกโลกเหนือในซีกโลกตะวันออก
- ละติจูด 20 องศาเหนือ ลองจิจูด 20 องศาตะวันออก
- ละติจูด 60 องศาเหนือ ลองจิจูด 60 องศาตะวันออก
- ละติจูด 25 องศาเหนือ ลองจิจูด 120 องศาตะวันออก
- ละติจูด 30 องศาเหนือ ลองจิจูด 30 องศาตะวันออก
ระบบพิกัดกริด UTM แผนที่ชุด 2C 7017 แสดงภูมิประเทศในตำแหน่งข้อใด
- ละติจูด 80-72 องศาใต้ ลองจิจูด 174-168 องศาตะวันตก
- ละติจูด 72-64 องศาใต้ ลองจิจูด 180-174 องศาตะวันตก
- ละติจูด 80-72 องศาเหนือ ลองจิจูด 174-168 องศาตะวันตก
- ละติจูด 80-72 องศาใต้ ลองจิจูด 180-174 องศาตะวันตก
ประเทศอังกฤษทำการถ่ายทอดสอดฟุตบอลระหว่างแมนยูฯกับแมนซิฯตามเวลาท้องถิ่น 1:12 PM นักเรียนสามารถชมรายการนี้ได้ในเวลาเท่าไรของประเทศไทย
- 20 นาฬิกา 12 นาที
- 15 นาฬิกา 12 นาที
- 08 นาฬิกา 12 นาที
- 03 นาฬิกา 12 นาท
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใดที่มีความจำเป็นต่อการเดินทางมากที่สุด
- เข็มทิศ
- เทอร์โมมิเตอร์
- ภาพจากดาวเทียม
- เครื่องมือวัดระยะทาง
ก้อนถ่วงน้ำหนักของเครื่องมือวัดพื้นที่มีไว้เพื่ออะไร
- ถ่วงไม่ให้จุดที่วางเคลื่อนที่
- ใช้เปรียบเทียบค่าที่วัดได้จากแผนที่
- ช่วยเคลื่อนแขนของเลนส์ขยายได้สะดวก
- ใช้ลากมาตรวัดพื้นที่ไปยังจุดที่ต้องการวัด
เข็มบอกทิศของเข็มทิศจะแกว่งไกวอย่างอิสระ โดยทำปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใด
- แรงดึงดูดของขั้วแม่เหล็กโลก
- การหมุนรอบตัวเองของโลก
- แรงเหวี่ยงของผู้ใช้งาน
- ช่วงเวลาที่ใช้งาน
บารอกราฟและบารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์มีความแตกต่างกันอย่างไร
- บารอกราฟมีแขนปากกาใช้ขีดค่าที่วัดได้ลงกระดาษกราฟ แต่บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์มีเพียงหน้าปัดบอกค่าที่วัดได้
- บารอกราฟมีตลับโลหะบาง ๆ ที่สูบอากาศออกเกือบหมด แต่บารอมิเตอร์มิเตอร์แบบแอนิรอยด์ไม่มีตลับโลหะ
- บารอกราฟมีหน้าปัดขนาดใหญ่ไว้บอกค่าที่วัดได้ แต่บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์ไม่มีหน้าปัดบอกค่า
- บารอกราฟสามารถวัดค่าอุณหภูมิได้ แต่บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์วัดไม่ได้
เทอร์โมมิเตอร์แบบใดที่สามารถใช้วัดอุณหภูมิของดินได้
- เทอร์โมกราฟ
- เทอร์โมมิเตอร์สูงสุด
- เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดา
- เทอร์โมมิเตอร์แบบซิกซ์
การทำงานของไฮโกรมิเตอร์ในการวัดค่าความชื้นในอากาศอาศัยอุปกรณ์ใดเป็นสำคัญ
- เส้นผม
- ตลับโลหะ
- แขนปากกา
- คานและเข็มชี้
เครื่องมือชนิดใดกับชนิดใดที่สามารถนำมารวมกันได้
- เทอร์โมมิเตอร์กับไฮโกรมิเตอร์
- ไฮโกรมิเตอร์กับมาตรวัดลม
- ไฮโกรมิเตอร์กับเครื่องวัดฝน
- เทอร์โมมิเตอร์กับไซโครมิเตอร์
เพราะเหตุใดปากภาชนะรองรับน้ำฝนของเครื่องวัดฝนจึงมีขนาดแคบและพอดีกับกรวย
- เพื่อลดการระเหยของน้ำ
- เพื่อรองรับเฉพาะหยดน้ำ
- เพื่อจำกัดปริมาณฝนที่รองรับ
- เพื่อให้มีอากาศอยู่ภายในกรวยน้อยที่สุด
ไซโครมิเตอร์ psychormeter ใช้สำหรับวัดอะไร
- ความชื้นสัมพัทธ์และจุดน้ำค้างในอากาศ
- ความร้อนแฝงในอากาศ
- ความกดอากาศ
- ความเร็วลม
แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) เป็นเครื่องทางภูมิศาสตร์ใช้สำหรับทำอะไร
- วัดความเร็วลม
- วัดความกดอากาศ
- วัดความชื้นในอากาศ
- วัดจุดน้ำค้างในอากาศ
เครื่องมือใดที่อยู่ในขั้นตอนการรับสัญญาณข้อมูลของระบบการรับรู้จากระยะไกล
- เครื่องกราดภาพ
- แผนที่
- คอมพิวเตอร์
- ภาพจากดาวเทียม
ฟิล์มชนิดใดที่นิยมนำมาใช้บันทึกภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่และการรังวัดพื้นที่
- ฟิล์มขาว–ดำธรรมดา
- ฟิล์มสีธรรมชาติ
- ฟิล์มออร์โทโครเมติก
- ฟิล์มขาว–ดำอินฟราเรด
ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่นำมาแสดงในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
- ข้อมูลในรูปของเส้น
- ข้อมูลในรูปของจุด
- ข้อมูลที่แสดงขอบเขตที่ปิดล้อมด้วยเส้น
ดาวเทียมธีออส ของประเทศไทยถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อจุดประสงค์ใด
- สำรวจทรัพยากร
- พยากรณ์อากาศ
- ตรวจสภาพการเกิดพายุ
- วิเคราะห์ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
ข้อมูลที่ใช้นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ไม่ควร มีลักษณะอย่างไร
- มีราคาแพง
- เชื่อถือได้
- มีความถูกต้อง
- เป็นปัจจุบันมากที่สุด
ฮาร์ดแวร์หมายถึงองค์ประกอบใดของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม
- ข้อมูลภาพจากดาวเทียม
ข้อใดกล่าวถึงข้อมูลแบบเวกเตอร์ได้ถูกต้อง
- เป็นข้อมูลที่เป็นจุด เส้น และบริเวณ
- เป็นข้อมูลที่อยู่ในเชิงตัวเลข
- เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ
- เป็นข้อมูลที่ได้จากการรับรู้จากระยะไกล
ข้อมูลลักษณะประจำของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีลักษณะเป็นอย่างไร
- ข้อมูลที่เป็นตัวเลข
- ข้อมูลที่เป็นจุดภาพ
- ข้อมูลที่เป็นรูปลักษณ์
- ข้อมูลที่เป็นจุด เส้น พื้นที่
ในระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ดาวเทียมทำหน้าที่ส่งสัญญาณอะไร
- สัญญาณคลื่นวิทยุ
- สัญญาณภาพ
- สัญญาณไฟฟ้า
- สัญญาณคลื่นแม่เหล็ก
กล้องสามมิตินำมาใช้ในการอ่านข้อมูลจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิดใด
- รูปถ่ายทางอากาศ
- ภาพจากดาวเทียม
- ภาพถ่าย
- แผนผัง
การวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมโดยการแปลตีความด้วยสายตา ถ้าเป็นองค์ประกอบด้านความเข้มของสี ข้อใดคือบริเวณที่มีน้ำลึกที่สุด
- สีเข้ม
- สีขาว
- สีจาง
- สีคราม
ข้อใดอธิบายจุดเด่นและข้อจำกัดระหว่าง รูปถ่ายทางอากาศกับภาพจากดาวเทียมได้อย่างถูกต้อง
- รูปถ่ายทางอากาศได้ภาพที่แปลความหมายได้ง่ายกว่าภาพจากดาวเทียม
- รูปถ่ายทางอากาศได้ภาพจากมุมต่ำ แต่ภาพจากดาวเทียมได้จากมุมสูง
- ภาพจากดาวเทียมได้ภาพสีเพียงอย่างเดียว แต่รูปถ่ายทางอากาศได้ภาพหลากสี
- ภาพจากดาวเทียมไม่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญแปลความหมายเหมือนรูปถ่ายทางอากาศ
ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทหาข้อมูล
- เข็มทิศ
- แผนที่
- อินเตอร์เน็ต
- ภาพถ่ายดาวเทียม
ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล สารสนเทศที่ต้องนำมาวิเคราะห์และแปลความหมาย
- ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม
- แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศ
- เครื่องวัดน้ำฝนและเทอร์โมมิเตอร์
- เข็มทิศและกล้องวัดระดับพื้นที่
ข้อใดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ แห่งหนึ่ง
- กล้องสามมิติ (Stereoscope)
- กล้องวัดระดับ (Telescope)
- เครื่องไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)
- เครื่องไซโครมิเตอร์ (Psychrometer)
ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้หาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะอากาศ
- ไซสโมกราฟ (Seismograph)
- ไซโครมิเตอร์ ( Psychrometer )
- ไฮโกรมิเตอร์ ( Hygrometer )
- แอนนิมอมิเตอร์ ( Anemometer )
ถ้ากรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนเรื่องพายุไต้ฝุ่น เจ้าหน้าที่สถานีตรวจอากาศต้องคอยสังเกตเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใดมากที่สุด
- เครื่องแอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer)
- เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge)
- เครื่องไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)
- ไซสโมกราฟ (Seismograph)
ข้อมูลในข้อใดกรมอุตุนิยมวิทยาไม่สามารถนำมา รายงานสภาพอากาศได้
- ไอโซโทป isotope
- ไอโซบาร์ isobar
- ไอโซเทอร์ม isotherm
- ไอโซไฮท์ isohyet
เครื่องมือตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวและบันทึกลงในกระดาษบันทึกเราเรียกเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวว่าอะไร
- ไซสโมกราฟ (Seismograph)
- เครื่องแอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer)
- เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge)
- เครื่องไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)
นายนิยม วิทยา ได้ข้อมูลมานำเสนอให้เพื่อนชมเป็น"กราฟแสดงอุณหภูมิและความชื้น"แสดงว่า ข้อมูลดังกล่าวได้จากการบันทึกของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใด
- เทอร์โม-ไฮโกรกราฟ (Thermo-Hygrograph)
- บารอกราฟ (Barograph)
- ไซโมกราฟ (Seismograph)
- เทอร์โมกราฟ (Thermograph)
นักภูมิศาสตร์ต้องการทราบความชื้นในอากาศควรใช้เครื่องมือชนิดใด
- ไฮโกรมิเตอร์ ( Hygrometer )
- เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge)
- บาโรมิเตอร์ (Barometer)
- เทอร์โมกราฟ (Thermograph)
ข้อใดเป็นการใช้ประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์จากภาพถ่ายทางอากาศโดยตรง
- การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน
- เชื่อมโยงการถ่ายทอดสดกับสัญญาณจากดาวเทียม
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสายการบิน
- ศึกษาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด2019
ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้หาข้อมูลเกี่ยวกับการวัดพื้นผิวโลก
- สเตริโอสโคป (Stereoscope)
- ไซโครมิเตอร์ ( Psychrometer )
- ไฮโกรมิเตอร์ ( Hygrometer )
- แอนนิมอมิเตอร์ ( Anemometer )
ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล
- อินเตอร์เน็ต (Internet)
- กล้องวัดระดับ (Telescope)
- เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge)
- บาโรมิเตอร์ (Barometer)
ข้อใดเป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการย่อหรือขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ
- พาโทกราฟ (Pantograph)
- ไซเบอร์สเปซ (Cyber Space)
- ไซโมกราฟ (Seismograph)
- ไฮโกรกราฟ (Hygrograph)
สมศรีไปเที่ยวที่ประเทศลิเบียเห็นเทอร์โมมิเตอร์บอกอุณหภูมิสูง 113 องศาฟาเรนไฮต์ อยากทราบว่า ที่ประเทศลิเบียอุณหภูมิสูงกี่องศาเซลเซียส
- 45 องศาเซลเซียส
- 39 องศาเซลเซียส
- 23 องศาเซลเซียส
- 13 องศาเซลเซียส
ฤทัยไปเที่ยวที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเห็นเทอร์โมมิเตอร์บอกอุณหภูมิสูง 122 องศาฟาเรนไฮต์ อยากทราบว่าที่ประเทศซาอุดิอาระเบียอุณหภูมิสูงกี่องศาเควิน
- 323 องศาเควิน
- 229 องศาเควิน
- 123 องศาเควิน
- 130 องศาเควิน
สมไปเที่ยวที่ประเทศอียิปต์เห็นเทอร์โมมิเตอร์บอกอุณหภูมิสูง 122 องศาฟาเรนไฮต์ อยากทราบว่าที่ประเทศอียิปต์อุณหภูมิสูงกี่องศาโรเมอร์
- 40 องศาโรเมอร์
- 39 องศาโรเมอร์
- 23 องศาโรเมอร์
- 13 องศาโรเมอร์
อรทัยไปเที่ยวที่ประเทศอิหร่านเห็นเทอร์โมมิเตอร์บอกอุณหภูมิสูง 122 องศาฟาเรนไฮต์ อยากทราบว่าที่ประเทศอิหร่านอุณหภูมิสูงกี่องศาเซลเซียส
- 50 องศาเซลเซียส
- 30 องศาเซลเซียส
- 20 องศาเซลเซียส
- 10 องศาเซลเซียส
อรไปเที่ยวที่ประเทศอิสราเอลเห็นเทอร์โมมิเตอร์บอกอุณหภูมิสูง 25 องศาเซลเซียส อยากทราบว่าที่ประเทศอิสราเอลอุณหภูมิสูงกี่องศาฟาเรนไฮต์
- 77 องศาฟาเรนไฮต์
- 37 องศาเซลเซียส
- 27 องศาเซลเซียส
- 17 องศาเซลเซียส