แผนที่ชุด L7018 จัดเป็นแผนที่ประเภทใด (ปี62)
- แผนที่อ้างอิง
- แผนที่เล่ม
- แผนที่ลายเส้น
- แผนที่รูปถ่าย
- แผนที่เฉพาะเรื่อง
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลกด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ปี62)
- หาค่าพิกัดในการรังวัดพื้นที่ได้ละเอียดถึงระดับเซนติเมตร
- ติดตามตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของยานพาหนะในเวลาจริง (real time)
- ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอากาศจากทิศทางของเมฆ
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- คํานวณเส้นทาง นําทาง หาเส้นทางในระหว่างการขับขี่ยานพาหนะ
เส้นชั้นความสูงที่เรียงชิดกันบริเวณยอด แล้วค่อย ๆ ขยายออกห่างบริเวณฐานแสดงถึงภูมิประเทศแบบใด (ปี61)
- แบบลาดเว้า
- แบบลาดนูน
- แบบลาดชัน
- แบบหน้าผาชัน
- แบบลาดสม่ำเสมอ
แอปพลิเคชั่นกูเกิลแมพ (Google Map) เป็นการผสมผสานของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใดบ้าง (ปี61)
- แผนที่ + ภาพจากดาวเทียม + ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) + ระบบกําหนดตําแหน่งบน พื้นโลก (GPS)
- แผนที่ + ภาพถ่ายทางอากาศ + ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- แผนที่ + ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) + ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- ภาพจากดาวเทียม + ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) + ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- ภาพถ่ายทางอากาศ + ภาพจากดาวเทียม + ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
การสํารวจการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ต้องใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมข้อใด จึงจะได้ข้อมูล
คล้ายกับภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1: 20,000 (ปี60)
- ดาวเทียม Thaichote
- 1. ดาวเทียม Terra
- 2. ดาวเทียม Rapideye
- 4. ดาวเทียม Landsat 5. ดาวเทียม Deimos-1
การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยนั้น ใช้แทนได้ด้วยเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใด (ปี60)
- ภาพถ่ายทางอากาศ
- แผนที่
- ภาพจากดาวเทียม
- จีพีเอส
- ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบเนวิเกเตอร์ในรถยนต์ เรือ หรือในสมาร์ทโฟนที่ใช้บอกเส้นทาง และจุดหมายปลายทางในการเดินทาง อาศัยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ใดสําคัญที่สุด (ปี59)
- ระบบ GPS
- ระบบ RS
- ระบบ GIS
- ระบบ MIS
- ระบบ RS MIS
การฝึกสู้รบในเวลากลางคืนของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 ครูฝึกต้องการให้นักศึกษาเดินทางจากที่พักบริเวณเขาชนไก่ ไปยังลําตะเพิน นักศึกษาได้วัดระยะทาง ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ได้ระยทาง 3.5 เซนติเมตร แสดงว่า ระยะทางจริงที่ นักศึกษาจะต้องเดินทางในเวลากลางคืนเป็นเท่าใด (ปี59)
- 1,750 เมตร
- 1,550 เมตร
- 1,650 เมตร
- 1,850 เมตร
- 1,950 เมตร
ถ้าให้ทําแผนที่ตําบล เพื่อความชัดเจนควรเลือกใช้มาตราส่วนขนาดใด (ปี58)
- 1: 5,000
- 1:1,000,000
- 1: 500,000
- 1:250,000
- 1:50,000
ผู้ประกอบการธุรกิจการขนส่ง ควรเลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใดจึงจะติดตามการเคลื่อนที่ของยานพาหนะขนส่งสิ่งของได้ตลอดเวลา (ปี58)
- ระบบกําหนดตําแหน่ง
- แผนที่
- วิทยุสื่อสาร
- ภาพจากดาวเทียม
- ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
การรังวัดภาคพื้นดินและงานรังวัดทางวิศวกรรมของการวางแผนระบบชลประทานในชุมชน ควรเลือกใช้เครื่องมือและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ตามข้อใด จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด (ปี58)
- เครื่องมือที่ใช้ในการสํารวจและกล้องระดับ
- ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมพร้อมเครื่องมือชุดแปลภาพ
- ระบบการกําหนดตําแหน่งบนโลก
- ระบบแผนที่และเครื่องมือชุดการทําแผนที่
- ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
หากต้องการทราบพิกัดภูมิศาสตร์ของโรงเรียนของท่าน ควรใช้เครื่องมือใด (ปี53)
- จีพีเอส
- อาร์เอส
- จีไอเอส
- แผนที่ประเทศไทย
แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนใดของประเทศไทยที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด (ปี52)
- 1 : 250,000
- 1 : 10,000
- 1 : 50,000
- 1 : 100,000
สมชายเดินทางโดยรถยนต์จากตำบล ก. ไปยังอำเภอ ข. หน้าปัดรถยนต์บอกระยะทางได้ 40 ไมล์ สมชายต้องเขียนระทาง จากตำบล ก. ไปยังอำเภอ ข. ลงในแผนที่โดยใช้มาตราส่วน 1 ซ.ม. ต่อ 2 ก.ม. ระยะทางในแผนที่ตำบล ก. ไปยังอำเภอ ข. จะยาวเท่าไร
- 32 ซ.ม.
- 64 ซ.ม.
- 20 ซ.ม.
- 40 ซ.ม.
ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ
- แพลนิมิเตอร์
- บารอมิเตอร์
- เทอร์โมมิเตอร์
- ไซโครมิเตอร์
หากเวลาที่ประเทศ ก คือ 9.00 น. ประเทศ ข ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออก 15 องศา จะเป็นเวลาใด (ปี52)
- 10.00 น.
- 7.00 น.
- 8.00 น.
- 11.00 น.
ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลทุติยภูมิ (ปี52)
- ผลงานวิจัย
- แผนที่
- ภาพจากดาวเทียม
- ภาพถ่ายทางอากาศ
ภูมิประเทศในข้อใดที่มีกระบวนการเกิดเหมือนกับหุบเขาทรุด (rift valley) (ปี62)
- ทะเลสาบแทนแกนยิกาในประเทศคองโก
- ทะเลสาบรูปแอกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
- แกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา
- ทะเลสาบทางตอนเหนือของแคนาดา
- เนินทรายหรือสันทรายในเขตทะเลทรายซาฮารา
แนววงแหวนไฟ (Ring of Fire) มีการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุบ่อย เพราะมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ตามข้อใด (ปี61)
- แนวแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตามรอยเลื่อน
- แนวพื้นที่เกิดรอยเลื่อนแปลง
- แนวแผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นสันเขากลางมหาสมุทร
- แนวชนกันของแผ่นซีกโลกลอเรเซียกับกอนด์วานา
- แนวร่องลึกบาดาลระหว่างมหาสมุทรกับพื้นทวีป
จากภาพ การสรุปลักษณะเด่นตามข้อใดที่ตั้งชื่อได้ถูกต้อง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรกายภาพที่ปรากฏในพื้นที่ได้ชัดเจนที่สุด และนําไปสู่การเกิดภูมิสังคมพืชไร่พืชสวนและนาข้าวได้ดี (ปี 61)
- ลานตะพักลําน้ำ
- แนวสันปันน้ำ
- พื้นที่เนินตะกอนรูปพัด
- พื้นที่ราบน้ำท่วมถึง
- แอ่งแผ่นดินทั้งลุ่มน้ำ
ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของธารน้ำไหลในระบบแม่น้ำมีความหลากหลายของอนุภูมิสัณฐาน ทั้งที่ราบน้ำท่วมถึงขนาดใหญ่ คันดินธรรมชาติ สันทรายชายฝั่งงอก ทะเลสาบรูปแอก ที่ลุ่มชื้นแฉะ หลังคันดิน และดินดอนสามเหลี่ยมกว้างใหญ่ ถ้าต้องการศึกษาและสํารวจทรัพยากรกายภาพด้วยลักษณะภูมิประเทศ ดังกล่าว ซึ่งมักประสบอุทกภัยแผ่เป็นบริเวณกว้างใหญ่มากของประเทศไทย ควรประเมินตัดสินใจเลือกพื้นที่ตามข้อใด (ปี61)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
- ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคกลางและภาคเหนือ
- ภาคใต้และภาคกลาง
- ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก
บริเวณชายขอบที่ราบภาคกลางที่มีลักษณะเป็นเนินตะกอนรูปพัด สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรตามข้อใดได้เหมาะสมที่สุด (ปี59)
- การเพาะปลูกพืชไร่
- การทํานาปี - นาปรัง
- สวนผักและผลไม้
- การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- การปลูกสนสองใบ
เมื่อเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยหินหนือแทรกซ้อนภายใน บริเวณเปลือกโลกที่ถูกบีบคันด้วยหินหนืด ไม่ทําให้เกิดลักษณะภูมิประเทศตามข้อใด (ปี59)
- ภูเขาไฟสูงใหญ่แบบลักษณะสมมาตร
- ทิวเขาแบบรอยเลื่อนซ้อนทับ
- เทือกเขาสูงแบบรอยเลื่อนเหลื่อมข้าง
- เทือกเขาสูงแบบคดโค้งโก่งงอ
- ที่ราบสูงระหว่างภูเขา
แอ่งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟเรียกว่าอะไร
- แคลดีรา caldera
- อาแรต aretes
- ฮอร์สต์ horst
- ฮอร์น horn
ถ้าจะศึกษาและสํารวจภูมิประเทศเนินเขาหินทราย ควรเลือกพื้นที่ตามข้อใด (ปี58)
- ทิวเขาภูพาน
- ทิวเขาถนนธงชัย
- ทิวเขาตะนาวศรี
- ทิวเขาสันกาลาคีรี
- ทิวเขาสอยดาว
ข้อใดคือลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนในแนวดิ่ง
- แอ่งกราเบน
- ภูเขาหินโค้งรูปประทุน
- เขาโดด
- แก่ง
เพื่อความปลอดภัยพ้นจากเขตแผ่นดินไหวทั้งประเทศไม่ควรไปตั้งถิ่นฐานประเทศใด (ปี58)
- ญี่ปุ่น
- อินเดีย
- อังกฤษ
- ไนจีเรีย
- สาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อใดเป็นหินที่แปรมาจากหินชั้น (ปี53 )
- หินอ่อน
- หินปูน
- หินสบู่
- หินดินดาน
หลุมอุกกาบาตบนพื้นโลกเกี่ยวข้องกับกระบวนการใด (ปี52)
- การกระทำจากภายนอกโลก
- การแปรสัณฐานเปลือกโลก
- การกร่อนของแผ่นดิน
- การปรับระดับแผ่นดิน
ถ้าต้องการศึกษาทะเลทรายเขตอบอุ่น ควรไปที่ใด (ปี53)
- ทะเลทรายโมฮาวีและทะเลทรายเกรตซอลต์เลกในทวีปอเมริกาเหนือ
- ทะเลทรายธารและทะเลทรายดาชต์-อี-คาร์วีในทวีปเอเชีย
- ทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายกาลาฮารีในทวีปแอฟริกา
- ทะเลทรายกิบสันและทะเลทรายซิมป์สันในทวีปออสเตรเลีย
หากนักเรียนต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองชายฝั่งที่อยู่ระหว่างอ่าวเบงกอลกับเมียนมา ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาใดเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเจอกับภัยจากพายุหมุนเขตร้อน (ปี62)
- 3. มีนาคม
- มกราคม
- กุมภาพันธ์
- พฤษภาคม
- ธันวาคม
ข้อใดเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก (ปี62)
- การสูญเสียปะการังตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- การขาดแคลนน้ำ และน้ำเสีย
- การเพิ่มขึ้นของประชากร และปะการังฟอกสี
- การขยายตัวของทะเลทราย และมลพิษทางอากาศ
- การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลรุนแรงขึ้น และการบุกรุกพื้นที่ป่า
ถ้าสร้างบ้านในที่โล่งแจ้ง ณ ละติจูดที่ 20 เหนือ ควรออกแบบให้ระเบียงใต้ชายคาอยู่ทิศใดของบ้าน จึงจะได้รับลมและแสงแดดตากผ้าได้ดีตลอดปี (ปี58)
- ระเบียงอยู่ด้านทิศใต้ของตัวบ้านสอดรับกับธรรมชาติ
- ระเบียงต้องอยู่ทางทิศเหนือเท่านั้น
- ระเบียงอยู่ด้านทิศตะวันออกของบ้าน
- ระเบียงที่เหมาะสมต้องอยู่ด้านทิศตะวันตก
- สามารถออกแบบได้ทุกด้านเพราะมีโอกาสได้รับอุณหภูมิและลมเท่ากัน
ปัจจัยใดที่ทําให้ลักษณะพืชพันธุ์ธรรมชาติ บริเวณด้านตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้และด้านตะวันออก-เฉียงใต้ของอ่าวไทยเป็นป่าดิบเหมือนกัน (ปี58)
- ภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน
- ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน
- ภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อนตลอดปี
- ทําเลที่ตั้งต่อเนื่องกับทะเลและมหาสมุทร
- ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน
แหล่งกําเนิดพายุหมุนเขตร้อนไม่เกิดขึ้นในบริเวณใด (ปี58)
- ในเขตละติจูดกลางหรือกึ่งเขตร้อนขึ้นไป
- ระหว่างเขตเส้นแคปริคอร์นกับเส้นศูนย์สูตร
- ระหว่างเขตเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์กับเส้นศูนย์สูตร
- บนพื้นผิวทะเลที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26-28 °C
- ในเขตมหาสมุทรอินเดีย แอตแลนติกและแปซิฟิก
ข้อใดไม่แสดงปัจจัยที่มีต่อลักษณะภูมิอากาศ (ปี52)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน
- จังหวัดภูเก็ตตั้งอยู่ที่ละติจูด 8 องศาเหนือ
- เชียงใหม่อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 303 เมตร
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่แห่งหนึ่งเป็นดินเหนียวระบายน้ำได้ไม่ดี พบได้ในบริเวณที่เป็นที่ลุ่มต่ำ มีหญ้าจําพวกกก กระจูด ขึ้นทั่วไป เนื้อดิน
มีสารสีเหลืองฟาง พบคราบสนิมเหล็กในดิน และน้ำจะมีรสฝาด จากข้อความดังกล่าวข้อใดสรุปความได้ถูกต้องที่สุด (ปี61)
- เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกและให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากเป็นลักษณะดินเปรี้ยว พบมากในภาคกลางตอนล่าง
- เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกพืช เพราะให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากเป็นเขตดินเค็มจัดปนแร่เหล็ก
- เขตดินเปรี้ยวในป่าพรุภาคกลาง พื้นที่ชายทะเลอ่าวไทย และบึงหัวทะเลนครราชสีมา
- ลักษณะดินมีปริมาณเกลือคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต และโปแตสเซียมปะปนอยู่ในเนื้อดินมีปริมาณสูงมาก
- เขตโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีหินปูน ดินมาร์ล ผสมเกลือหิน จึงเป็นดินเปรี้ยวน้ำกร่อยจัด
ข้อใดไม่ถูกต้องในการอธิบายเกี่ยวกับป่าไม้ของไทย (ปี59)
- ภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตกชุกและอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ทุกประเภท
- ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด รองลงมาคือภาคตะวันตก
- ภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำฝนสูงเช่นเดียวกับภาคใต้แต่ยังพบว่ามีป่าเต็งรัง
- รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายทวงคืนผืนป่าเพื่อให้มีเนื้อที่ป่าไม้อย่างน้อยร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ
- จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่ไม่มีป่าไม้เหลืออยู่เลย หรือมีอยู่น้อย
มาก
การใช้ประโยชน์ที่ดินในข้อใดไม่สอดคล้องกับคุณค่าทางธรรมชาติของพื้นที่ (ปี58)
- การตั้งนิคมอุตสาหกรรมบนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
- การปลูกยางพาราในที่ลาดเนินเขตป่าฝนเมืองร้อน
- การจัดการเกษตรกรรมแบบยกร่องในพื้นที่ราบลุ่มต่ำดินน้ำพัดพา
- การจัดตั้งบ่อนกาสิโนในเขตเศรษฐกิจท่องเที่ยว
- การปลูกพืชไร่เชิงเดียวในเขตที่เนินสูง และที่ดอนดินร่วนปนทราย
ในปัจจุบันประเทศไทยอุดมไปด้วยแร่ธาตุอะไรที่มีปริมาณมากที่สุดแต่ถูกนํามาใช้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย (ปี58 )
- เกลือหิน
- แก๊สธรรมชาติ
- ดีบุกและทังสเตน
- น้ำมันและหินน้ำมัน
- ถ่านหินลิกไนท์และซับบิทูมินัส
ข้อใดเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรอยเลื่อนและภัยพิบัติแผ่นดินไหว (ปี60)
- ภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เกิดจากการขยับตัวของรอยเลื่อน
แม่ฮ่องสอน - ที่ผ่านมาการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย ไม่สามารถทําให้เกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิได้
- บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว จะสัมพันธ์กับรอยเลื่อนที่มีพลัง
- รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังอาจส่งผลกระทบถึงกรุงเทพมหานครได้
- แผ่นดินไหวที่ทําให้เกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ส่งผลต่อรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเปลี่ยนแปลงได้
ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาการกัดกร่อนชายฝั่งทะเลของไทยที่มีความรุนแรงของอัตราการกัดกร่อนเฉลี่ยสูงสุด ควรจะ
เลือกชายฝั่งทะเลพื้นที่ใด (ปี60)
- อ่าวไทยตอนบน
- ภาคตะวันออก
- อ่าวไทยตอนกลาง
- อ่าวไทยตอนล่าง
- ฝั่งทะเลอันดามัน
แนวโน้มวิกฤตการณ์ที่ดินและทรัพยากรดินในเชิงปฐพีวิทยาที่น่าเป็นห่วงที่สุดในอนาคต คือข้อใด (ปี60)
- ดินเสื่อมสภาพและขาดความอุดมสมบูรณ์
- การจํากัดจํานวนและขนาดการเป็นเจ้าของที่ดิน
- การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินสู่อุตสาหกรรม
- ปัญหาการขาดกรรมสิทธิ์ครอบครองและถือครองที่ดิน
- การเกิดแผ่นดินทรุดและภัยพิบัติธรรมชาติต่อที่ดิน
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดสึนามิ (ปี58)
- การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในมหาสมุทร
- การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
- การเกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
- การเกิดแผ่นดินถลุ่มใต้พื้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
- การตกของดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่สู่พื้นมหาสมุทร
การกระทำใดของมนุษย์ที่เสี่ยงต่อการเป็นตัวเร่งให้เกิดแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น (ปี58)
- การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่บริเวณรอยต่อของรอยเลื่อนเปลือกโลก
- การขุดเจาะเหมืองแร่ทั้งในระดับตื้นและระดับลึกใต้เปลือกโลก
- การขุดเจาะอุโมงค์ และขุดเจาะพลังงานเชื้อเพลิงทั้งบนบกและในทะเล
- การสร้างตึกสูงและอาคารบ้านเรือนด้วยวัสดุน้ำหนักมากกดทับบนผิวโลก
- การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกใต้
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปรากฏการณ์การเกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน (ปี62)
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้เกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน
- ระบบนิเวศทางทะเลเสียหายเนื่องจากสาหร่ายที่เป็นผู้ผลิตขั้นต้นตายมากขึ้น
- การขยายตัวของช่องโหว่ทําให้ประชากรโลกมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังมากขับ
- การสลายตัวของก๊าซโอโซน (0) กลายเป็นก๊าซออกซิเจน (0)
- ต้นไม้ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากจนเกินไปส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ช้าลง หรือทําให้พืชแคระแกร็นมากขึ้น
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรเกิดจากการกระทําของมนุษย์ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากวิกฤตการณ์นี้ส่งผลเสียต่อมนุษย์ เหตุใดมนุษย์จึงยังคงกระทําให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าว (ปี62)
- มนุษย์มีความหลงใหลในวัตถุมากกว่าคุณธรรมและจริยธรรม มีความต้องการที่ฟังเฟ้อในสิ่งที่ไม่จําเป็น
- มนุษย์คิดว่าทรัพยากรบนโลกนี้มีอยู่มากมาย เพียงพอที่จะสนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้
- มนุษย์ไม่รู้ว่าสิ่งที่กําลังกระทํา ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าว
- มนุษย์เชื่อว่าธรรมชาติจะปรับสภาพแวดล้อมเข้าสู่สมดุลในที่สุด
- มนุษย์เชื่อว่าการกระทําของมนุษย์ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทําให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เมื่อ 14 มีนาคม 2562 จังหวัดเลยพบกับสถานการณ์และคุณภาพอากาศที่มีปริมาณฝุนละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถึง 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่ จังหวัดเลยจําเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันภัยประเภทใด เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (ปี62)
- ไฟป่า
- ภัยแล้ง
- วาตภัย
- แผ่นดินไหว
- ดินโคลนถล่ม
ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบใดที่ควรปลูกพืชจําพวกหญ้าแฝก (ปี62)
- พื้นที่ดินร่วนที่มีความลาดชันและมีน้ำไหลผ่าน
- พื้นที่พัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์และย่อยสลายเป็นปุ๋ยบํารุงดิน
- พื้นที่พรุที่มีน้ำขังตลอดปีเพื่อช่วยลดความเป็นกรดในดิน
- พื้นที่แห้งแล้งโดยปลูกเพื่อเป็นแนวกันไฟป่า
- พื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็มเพื่อลดความเค็มของดิน
ข้อใดหมายถึงการแกล้งดินในโครงการตามแนวพระราชดําริ (ปี62)
- การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยการขังน้ำและระบายน้ำสลับกันไปจนดินเปรี้ยวจัด แล้วปรับสภาพด้วยปูนขาว
- การแก้ปัญหาดินขาดธาตุอาหาร โดยการไม่ใส่ปุ๋ย จนกระทั่งพืชทิ้งใบ ใบจะสะสมและย่อยสลายเป็นธาตุอาหาร
- การแก้ปัญหาดินแห้ง โดยการขังน้ำไว้ในดินให้ลึกถึงระดับน้ำใต้ดิน เพื่อดึงน้ำขึ้นสู่ผิวดิน
- การแก้ปัญหาดินเค็ม โดยขังน้ำไว้เล็กน้อยให้ระเหย เหลือแต่เกลือที่หน้าดินแล้วจึงตักเกลือออก
- การแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน โดยเซาะหน้าดินเป็นขั้นบันไดและปลูกพืชยึดหน้าดินไว้
จากวิกฤตด้านทรัพยากรน้ำสู่มลพิษทางน้ำ เทคโนโลยีการบําบัดน้ำเสียที่เรียบง่ายภายใต้แนวคิดธรรมชาติช่วยธรรมชาติบําบัด ของโครงการดามพระราชดําริฯ แหลมผักเบี้ย การนําวิธีการบําบัดน้ำเสียดังกล่าวไปใช้ ในการจัดการน้ำเสียให้เป็นน้ำดี เพื่อการเกษตรกรรมของชุมชน จะต้องเริ่มต้นขั้นตอนแรกตามข้อใด (ปี61)
- สร้างระบบบ่อบําบัด ด้วยบ่อตกตะกอน บ่อฝั่ง และบ่อปรับสภาพ
- จัดสร้างระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม
- จัดทําระบบแปลงพืชป่าและพืชน้ำท้องถิ่นตามสภาพภูมินิเวศ
- จัดทําระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสียด้วยต้นธูปฤาษี กกกลม และหญ้าแฝกอินโดนีเซีย
- ดําเนินการสร้างระบบลุ่มน้ำเทียมรองรับและบําบัดน้ำเสีย
การป้องกันภัยพิบัติแผ่นดินไหวในข้อใด เป็นการนําความรู้และแนวคิดทางภูมิศาสตร์มาใช้ในการป้องกัน (ปี60)
- ทําแผนที่แสดงที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆ ที่มีรอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆ รับรู้และตระหนักถึงการเสี่ยงภัยพิบัติ
- การออกแบบบ้าน อาคาร ให้มีฐานรากและเสาที่แข็งแรงกว่าปกติรวมถึงไม่ตกแต่งฝาบ้านด้วยกระจก
- ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดความรุนแรง และวิธีการป้องกัน
- ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่หลบภัย หลังจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวสงบลงแล้ว
- ฝึกซ้อมการอยู่ภายในอาคาร การพาตัวเองออกนอกอาคาร การรวมตัวกันเมื่อเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว
การกระทําใดเป็นแนวทางของการช่วยลดหรือชะลอสภาวะโลกร้อนในเชิงภูมิศาสตร์ (ปี59)
- การเลือกซื้อผักผลไม้ เนื้อหมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน
- การเปิดหน้าต่างรับลมแทนการใช้เครื่องปรับอากาศ
- การร่วมกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
- พยายามใช้แสงแดดในการตากเสื้อผ้า
- เลือกใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การกระทําใดสะท้อนถึงความพยายามที่จะอยู่แบบสอดคล้องและมีผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด (ปี58)
- กลุ่มประเทศแอฟริกาเหนือร่วมพัฒนาข้าวบาเล่ย์ทนแล้ง
- ประเทศจีนสร้างเขื่อนสามผา สามหุบเขาใหญ่ที่สุดในโลก
- ประเทศไทยพัฒนาข้าวพันธุ์ กข.63 เพื่อรองรับอุตสาหกรรมธัญพืชส่งออก
- เนเธอร์แลนด์สร้างโฟลเดอร์กันทะเลได้พื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 5,000 ตารางกิโลเมตร
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สร้างภูมิสังคมใหม่ด้วยเกาะรูปปาล์มรีสอร์ทในทะเล
เกษตรอินทรีย์ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องใด (ปี52)
- การใช้พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ดัดแปรพันธุกรรม
- การใช้หลักการการเกษตรแบบองค์รวม
- การนำของใช้แล้วไปแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
- การทำฟาร์มทางนิเวศวิทยา
-
จากการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้มีการนําทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก จนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรม ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้เกิดสถานการณ์การเสื่อมโทรมดังกล่าว (ปี62)
- การเพิ่มขึ้นของทรัพยากรหมุนเวียน
- การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว
- การเพิ่มขึ้นของความขัดแย้งระหว่างประเทศ
- การบริโภคสินค้าและบริการอย่างฟุ่มเฟือย
- ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี5. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวทางใดเป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อหยุดโลกร้อนในเชิงภูมิศาสตร์ (ปี61)
- รวมกลุ่มกันสร้าง “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” โดยซื้อขายกันภายในตลาดท้องถิ่น
- ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากผู้ผลิตที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน
- รณรงค์ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทํามาจากพลาสติก
- นําหลักการ การลดทอน การใช้ซ้ํา การแปรใช้ใหม่ มาใช้ในชีวิตประจําวัน
- ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือก เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าเฉพาะจุด เป็นต้น
ข้อใดคือสาเหตุและเป้าหมายที่ครอบคลุมที่สุดที่ทําให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวโลก (ปี60)
- สนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามความต้องการของมนุษย์
- ต้องการเพิ่มพื้นที่ผิวโลกใช้ประโยชน์กระทํากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
- เพื่อการสร้างและรักษาสภาวะสมดุลของเปลือกโลก
- ต้องการใช้ประโยชน์จากการเกิดลักษณะเฉพาะทางชีวภาพที่แตกต่างจากส่วนอื่นของโลก
- ตั้งใจที่จะสร้างสภาวะนิเวศวิทยาใหม่ให้โลกเกิดความยั่งยืนทางนิเวศมากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพโดยมนุษย์ด้วยการสร้างโพลเดอร์ (Polder) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่งผลกระทบต่อภูมิสังคมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนใดมากที่สุด (ปี60)
- ชุมชนชาวประมง
- ชุมชนเลี้ยงปศุสัตว์
- ชุมชนเกษตรกรพืชผัก
- ชุมชนท่าเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเลเพื่อการส่งออก
- ชุมชนผู้ปลูกดอกทิวลิปและไม้ดอกอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดินจากอดีตสู่ปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากขนาดพื้นที่และร้อยละของการใช้ที่ดิน ทําให้ประเมินสรุปได้ว่าประเทศไทยยังมีลักษณะสังคมเด่นชัดตามข้อใด (ปี60)
- ภูมิสังคมอุตสาหกรรมการเกษตร
- ภูมิสังคมเกษตรกรรม
- ภูมิสังคมอุตสาหกรรม
- ภูมิสังคมเทคโนโลยีดิจิทัล
ข้อใดเป็นกฎหมายป้องกันและอนุรักษ์หอยมือเสือของประเทศไทย (ปี62)
- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 2)
- พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
- พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
สุนทรฝ่าฝืนคําสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และสมุทรฝ่าฝืน ไม่ยินยอม
หยุดพาหนะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มีโทษจําคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นบทกําหนดโทษของกฎหมายใด (ปี62)
- พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะของประเทศไทย
- พรบ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
- พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
- พรบ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
ข้อใดเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ใช้แก้ไขเหตุรําคาญของชุมชนจากปัญหากลิ่นเหม็นจากการเลี้ยงสุกร (ปี60)
- พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
- พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
- พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
ผู้ที่บุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีความผิดตามกฎหมายใด (ปี53)
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
- พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518
ลูกพะยูน “มาเรียม” ตายลงจากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งรวมถึงขยะถุงพลาสติกองค์กรภาคเอกชนใดควรมีบทบาทโดยตรงในการดําเนินการร่วมกับองค์กรภาครัฐ (ปี62)
- สมาคมสร้างสรรค์ไทย
- กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน
- มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
- สมาคมหยาดฝน
- มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
อนุสัญญาข้อใดช่วยไม่ให้เกิดเหตุการณ์นําเข้าขยะปนเปื้อนสารเคมีจํานวนมากจากต่างประเทศ (ปี61)
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาเวียนนา
- อนุสัญญากรุงโตเกียว
การรณรงค์ในข้อใดสนับสนุนการปฏิบัติตามอนุสัญญาเวียนนาโดยตรงของประเทศไทย (ปี61)
- ปรับลดการใช้สารฮาลอนในกิจกรรมต่างๆ
- อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ไม่จําหน่ายสัตว์ป่าและพืชป่า
- ไม่นําเข้ากากของเสียอันตรายจากต่างประเทศ
- แบ่งปันผลประโยชน์การใช้ทรัพยากรพันธุกรรม
อนุสัญญาใดช่วยแก้ปัญหามลพิษจากพลังงานถ่านหินในชั้นบรรยากาศ (ปี61)
- อนุสัญญาเวียนนา
- อนุสัญญาโตรอนโต
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญารอตเตอร์ดัม
- อนุสัญญาไซเตส
ถ้าหากระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศใดๆ สูญเสียไป ควรใช้กฎหมายใดจึงจะฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมดุล (ปี60)
- อนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาพิธีสารโตเกียว
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศ
หน่วยงานในประเทศไทยหน่วยงานใดมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (ปี60)
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมปศุสัตว์
- มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
การประชุมครั้งที่ 7 ของกลุ่มประเทศภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ประเทศโมร็อกโกเมื่อ พ.ศ. 2544 ได้เสนอประเด็นการแก้ปัญหาใดซึ่งมีผลมาถึงปัจจุบัน (ปี53)
- ภาวะโลกร้อน
- ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ปรากฏการณ์เอลนีโญ
- ฝนกรด
การที่ประเทศไทยกําหนดให้เลิกใช้สารซีเอฟซีในการผลิตสินค้า เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงใด (ปี53)
- พิธีสารมอนทรีออล
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
- พิธีสารเกียวโต
UNEP ดําเนินงานเกี่ยวกับเรื่องใด (ปี53)
- การป้องกันชั้นโอโซน
- ความหลากหลายทางชีวภาพ
- การควบคุมพืชป่าและสัตว์ป่า
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานใด (ปี53)
- UNESCO
- UNCTAD
- UNICEF
- UNESCAP
โครงการพัฒนาป่าชุมชนในประเทศไทยเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับใด (ปี52)
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาเวียนนา
- อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
- อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ