ถ้าจะศึกษาและสํารวจภูมิประเทศเนินเขาหินทราย ควรเลือกพื้นที่ตามข้อใด
- ทิวเขาภูพาน
- ทิวเขาถนนธงชัย
- ทิวเขาตะนาวศรี
- ทิวเขาสันกาลาคีรี
- ทิวเขาสอยดาว
ถ้าสร้างบ้านในที่โล่งแจ้ง ณ ละติจูดที่ 20 เหนือ ควรออกแบบให้ระเบียงใต้ชายคาอยู่ทิศใดของบ้าน จึงจะได้รับลมและแสงแดดตากผ้าได้ดีตลอดปี
- ระเบียงอยู่ด้านทิศใต้ของตัวบ้านสอดรับกับธรรมชาติ
- ระเบียงต้องอยู่ทางทิศเหนือเท่านั้น
- ระเบียงที่เหมาะสมต้องอยู่ด้านทิศตะวันตก
- ระเบียงอยู่ด้านทิศตะวันออกของบ้าน
- สามารถออกแบบได้ทุกด้านเพราะมีโอกาสได้รับอุณหภูมิและลมเท่ากัน
ข้อใดเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับชายฝั่งทะเลของประเทศไทย
- ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีที่ราบชายฝั่งกว้างกว่าด้านทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย
- ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเกิดจากการทรุดตัว
- ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้เกิดจากการทรุดตัว
- ชายฝั่งทะเลอันดามันกว้างกว่าชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
- ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ถูกกัดเซาะรุนแรงมากกว่าด้านตะวันออก
ปัจจัยใดที่ทําให้ลักษณะพืชพันธุ์ธรรมชาติ บริเวณด้านตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้และด้านตะวันออก-เฉียงใต้ของอ่าวไทยเป็นป่าดิบเหมือนกัน
- ภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน
- ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน
- ภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อนตลอดปี
- ทําเลที่ตั้งต่อเนื่องกับทะเลและมหาสมุทร
- ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน
ในปัจจุบันประเทศไทยอุดมไปด้วยแร่ธาตุอะไรที่มีปริมาณมากที่สุดแต่ถูกนํามาใช้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย
- เกลือหิน
- แก๊สธรรมชาติ
- ดีบุกและทังสเตน
- น้ำมันและหินน้ำมัน
- ถ่านหินลิกไนท์และซับบิทูมินัส
การรังวัดภาคพื้นดินและงานรังวัดทางวิศวกรรมของการวางแผนระบบชลประทานในชุมชน ควรเลือกใช้เครื่องมือและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ตามข้อใด จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เครื่องมือที่ใช้ในการสํารวจและกล้องระดับ
- ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมพร้อมเครื่องมือชุดแปลภาพ
- ระบบแผนที่และเครื่องมือชุดการทําแผนที่
- ระบบการกําหนดตําแหน่งบนโลก
- ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ถ้าให้ทําแผนที่ตําบล เพื่อความชัดเจนควรเลือกใช้มาตราส่วนขนาดใด
- 1: 5,000
- 1:50,000
- 1:250,000
- 1: 500,000
- 1:1,000,000
ผู้ประกอบการธุรกิจการขนส่ง ควรเลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใดจึงจะติดตามการเคลื่อนที่ของยานพาหนะขนส่งสิ่งของได้ตลอดเวลา
- ระบบกําหนดตําแหน่ง
- แผนที่
- วิทยุสื่อสาร
- ภาพจากดาวเทียม
- ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบเนวิเกเตอร์ในรถยนต์ เรือ หรือในสมาร์ทโฟนที่ใช้บอกเส้นทางและจุดหมายปลายทางในการเดินทาง อาศัยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ใดสําคัญที่สุด
- ระบบ GPS
- ระบบ RS
- ระบบ GIS
- ระบบ MIS
- ระบบ RS MIS
การสํารวจการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ต้องใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมข้อใด จึงจะได้ข้อมูลคล้ายกับภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1: 20,000
- ดาวเทียม Thaichote
- ดาวเทียม Terra
- ดาวเทียม Rapideye
- ดาวเทียม Landsat
- ดาวเทียม Deimos-1
การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยนั้น ใช้แทนได้ด้วยเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใด
- ภาพถ่ายทางอากาศ
- ภาพจากดาวเทียม
- แผนที่
- จีพีเอส
- ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
การฝึกสู้รบในเวลากลางคืนของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 ครูฝึกต้องการให้นักศึกษาเดินทางจากที่พักบริเวณเขาชนไก่ไปยังลําตะเพิน นักศึกษาได้วัดระยะทาง ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ได้ระยะทาง 3.5 เซนติเมตร แสดงว่าระยะทางจริงที่ นักศึกษาจะต้องเดินทางในเวลากลางคืนเป็นเท่าใด
- 1,750 เมตร
- 1,550 เมตร
- 1,650 เมตร
- 1,850 เมตร
- 1,950 เมตร
หากต้องการทราบพิกัดภูมิศาสตร์ของโรงเรียนของท่าน ควรใช้เครื่องมือใด
- จีพีเอส
- อาร์เอส
- จีไอเอส
- แผนที่ประเทศไทย
- ลูกโลก
เส้นชั้นความสูงที่เรียงชิดกันบริเวณยอด แล้วค่อยๆ ขยายออกห่างบริเวณฐานแสดงถึงภูมิประเทศแบบใด
- แบบลาดเว้า
- จีแบบลาดชัน
- แบบลาดนูน
- แบบหน้าผาชัน
- แบบลาดสม่ำเสมอ
แปพลิเคชั่นกูเกิลแมพ (Google Map) เป็นการผสมผสานของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใด
- แผนที่+ภาพจากดาวเทียม+ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)+ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- แผนที่+ภาพถ่ายทางอากาศ+ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- แผนที่+ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)+ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- ภาพถ่ายทางอากาศ+ภาพจากดาวเทียม+ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)
- ภาพจากดาวเทียม+ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)+ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก(GPS)
บริเวณชายขอบที่ราบภาคกลางที่มีลักษณะเป็นเนินตะกอนรูปพัด สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรตามข้อใดได้เหมาะสมที่สุด
- การเพาะปลูกพืชไร่
- การทํานาปี - นาปรัง
- สวนผักและผลไม้
- การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- การปลูกสนสองใบ
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีต้นกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน พัดมวล อากาศปกคลุมประเทศไทย ดังนั้น ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนจะมีลักษณะอากาศตามข้อใด
- ท้องฟ้าโปร่งใส อากาศหนาวและแห้งแล้ง
- ท้องฟ้าโปร่งใส อากาศเย็นและแห้ง ทําให้เกิดพายุฤดูร้อน
- อากาศเย็นแต่ยังคงมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างตามร่องความกดอากาศต่ำ
- มีโอกาสเกิดพายุหมุนเขตร้อนโดยเฉพาะดีเปรสชั่น ทําให้มีฝนตกกระจายทั่วไป
- ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้มีโอกาสนําฝนตกบริเวณกว้าง
หากมีนักท่องเที่ยวถามถึงแหล่งดําน้ำลึกที่มีปะการังและปลาสวยงามของประเทศไทย ท่านจะแนะนําข้อใด
- หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา
- หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด
- หมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- เกาะเต่า และเกาะนางยวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อใดไม่ถูกต้องในการอธิบายเกี่ยวกับป่าไม้ของไทย
- ภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตกชุกและอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ทุกประเภท
- ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด รองลงมาคือภาคตะวันตก
- ภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำฝนสูงเช่นเดียวกับภาคใต้แต่ยังพบว่ามีป่าเต็งรัง
- รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายทวงคืนผืนป่าเพื่อให้มีเนื้อที่ป่าไม้อย่างน้อยร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ
- จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ
ข้อใดเป็นหินที่แปรมาจากหินชั้น
- หินอ่อน
- หินดินดาน
- หินสบู่
- หินปูน
- หินแกรนิต
ถ้าต้องการศึกษาทะเลทรายเขตอบอุ่น ควรไปที่ใด
- ทะเลทรายโมฮาวีและทะเลทรายเกรตซอลต์เลกในทวีปอเมริกาเหนือ
- ทะเลทรายธารและทะเลทรายดาชต์-อี-คาร์วีในทวีปเอเชีย
- ทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายกาลาฮารีในทวีปแอฟริกา
- ทะเลทรายกิบสันและทะเลทรายซิมป์สันในทวีปออสเตรเลีย
- ทะเลทรายอะตะกามา ในทวีปอเมริกาใต้
แนววงแหวนไฟ (Ring of Fire) มีการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุบ่อย เพราะมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ตามข้อใด
- แนวแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตามรอยเลื่อน
- แนวพื้นที่เกิดรอยเลื่อนแปลง
- แนวแผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นสันเขากลางสมุทร
- แนวชนกันของแผ่นซีกโลกลอเรเซียกับกอนด์วานา
- แนวร่องลึกบาดาลระหว่างมหาสมุทรกับพื้นทวีป
เพื่อความปลอดภัยพ้นจากเขตแผ่นดินไหวทั้งประเทศไม่ควรไปตั้งถิ่นฐานประเทศใด
- ญี่ปุ่น
- อินเดีย
- อังกฤษ
- ไนจีเรีย
- กัมพูชา
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดสึนามิ
- การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในมหาสมุทร
- การเกิดแผ่นดินถล่มใต้พื้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
- การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
- การตกของดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่สู่พื้นมหาสมุทร
- การเกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
แหล่งกําเนิดพายุหมุนเขตร้อนไม่เกิดขึ้นในบริเวณใด
- ในเขตละติจูดกลางหรือกึ่งเขตร้อนขึ้นไป
- ระหว่างเขตเส้นแคปริคอร์นกับเส้นศูนย์สูตร
- ระหว่างเขตเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์กับเส้นศูนย์สูตร
- เทือกเขาสูงแบบคดโค้งโก่งงอ
- ในเขตมหาสมุทรอินเดีย แอตแลนติกและแปซิฟิก
เมื่อเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยหินหนืดแทรกซ้อนภายใน บริเวณเปลือกโลกที่ถูกบีบคันด้วยหินหนืด ไม่ทําให้เกิดลักษณะภูมิประเทศตามข้อใด
- ที่ราบสูงระหว่างภูเขา
- ทิวเขาแบบรอยเลื่อนซ้อนทับ
- เทือกเขาสูงแบบรอยเลื่อนเหลื่อมข้าง
- เทือกเขาสูงแบบคดโค้งโก่งงอ
- ภูเขาไฟสูงใหญ่แบบลักษณะสมมาตร
ข้อใดเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรอยเลื่อนและภัยพิบัติแผ่นดินไหว
- ภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่อําเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เกิดจากการขยับตัวของรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน
- รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังอาจส่งผลกระทบถึงกรุงเทพมหานครได้
- บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว จะสัมพันธ์กับรอยเลื่อนที่มีพลัง
- ที่ผ่านมาการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย ไม่สามารถทําให้เกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิได้
- แผ่นดินไหวที่ทําให้เกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ส่งผลต่อรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเปลี่ยนแปลงได้
การป้องกันภัยพิบัติแผ่นดินไหวในข้อใด เป็นการนําความรู้และแนวคิดทางภูมิศาสตร์มาใช้ในการป้องกัน
- ทําแผนที่แสดงที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆ ที่มีรอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆ รับรู้และตระหนักถึงการเสี่ยงภัยพิบัติ
- ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดความรุนแรง และวิธีการป้องกัน
- ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่หลบภัย หลังจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวสงบลงแล้ว
- ฝึกซ้อมการอยู่ภายในอาคาร การพาตัวเองออกนอกอาคาร การรวมตัวกันเมื่อเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว
- การออกแบบบ้าน อาคาร ให้มีฐานรากและเสาที่แข็งแรงกว่าปกติรวมถึงไม่ตกแต่งฝาบ้านด้วยกระจก
ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาการกัดกร่อนชายฝั่งทะเลของไทยที่มีความรุนแรงของอัตราการกัดกร่อนเฉลี่ยสูงสุด ควรจะเลือกชายฝั่งทะเลพื้นที่ใด
- อ่าวไทยตอนบน
- อ่าวไทยตอนล่าง
- ภาคตะวันออก
- อ่าวไทยตอนกลาง
- ฝั่งทะเลอันดามัน
พื้นที่แห่งหนึ่งเป็นดินเหนียวระบายน้ำได้ไม่ดี พบได้ในบริเวณที่เป็นที่ลุ่มต่ำ มีหญ้าจำพวกกก กระจูดขึ้นทั่วไป เนื้อดินมีสารสีเหลืองฟาง พบคราบสนิมเหล็กในดินและน้ำจะมีรสฝาด จากข้อความดังกล่าวข้อใดสรุปความได้ถูกต้องที่สุด
- เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลกและให้ผลผลิตต่พ เนื่องจากเป็นลักษณะดินเปรี้ยว พบมากในภาคกลางตอนล่าง
- ลักษณะดินมีปริมาณเกลือคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต และโปแตสเวียมปะปนอยู่ในเนื้อดินมีปริมาณสูงมาก
- เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกพืช เพราะให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากเป็นเขตดินเค็มจัดปนแร่เหล็ก
- เขตโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีหินปูน ดินมาร์ล ผสมเกลือหิน จึงเป็นดินเปรี้ยวน้ำกร่อยจัด
- เขตดินเปรี้ยวในป่าพรุภาคกลาง พื้นที่ชายทะเลอ่าวไทย และบึงหัวทะเลนครราชสีมา
ข้อใดไม่ใช่ข้อเท็จจริงในเรื่องภูมิภาคการเกษตรและการผลิตอาหาร เมื่ออุณหภูมิของโลกเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น
- ในรัฐควิเบก ประเทศแคนาดา พบว่าผลผลิตข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้างฟ่างจะลดลง แต่ผลผลิตข้าวสาลีจะเพิ่มขึ้น
- ดินแดนสหราชอาณาจักร ผลผลิตปศุสัตว์ในเขตทางเหนือของประเทศจะเพิ่มขึ้น
- ประเทศรัสเซียทางตอนเหนือและแถบไซบีเรีย ผลผลิตทางการเกษตรอาจเพิ่มขึ้น และเขตภูมิภาคของพืชผลจะเลื่อนขึ้นไปทางเหนือ
- ประเทศนิวซีแลนด์สามารถขยายพื้นที่การเกษตรพวกธัญพืชลงไปทางใต้ได้อีก
- พื้นที่การเกษตรในเขตหนาว บริเวณตอนเหนือของแคนาดา สวีเดน นอร์เวย์ พินแลนด์ และรัสเซีย เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะช่วยเพิ่มพื้นที่การเกษตร
ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงกาลอากาศและภูมิอากาศของไทย
- พายุฤดูร้อนมักจะเกิดในฤดูฝนระหว่างที่ฝนทิ้งช่วง อากาศร้อนจัด แปรปรวนมีโอกาสเกิดลมพัดรุนแรง
- ช่วงปลายเดือนเมษายนบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน จะแผ่มาคลุมประเทศไทยตอนบน ขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อน
- พายุฤดูร้อนจะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกเป็นบางพื้นที่
- ช่วงเปลี่ยนฤดูฝนเป็นฤดูหนาวของไทยในช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคมอากาศแปรปรวน อากาศจะเริ่มเย็น แต่ก็อาจมีพายุฝนฟ้าคะนองได้
- ฤดูร้อนของไทย เป็นช่วงเปลี่ยนแปลง เพราะอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
การกระทําใดเป็นแนวทางของการช่วยลดหรือชะลอสภาวะโลกร้อนในเชิงภูมิศาสตร์
- การเลือกซื้อผักผลไม้ เนื้อหมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน
- การร่วมกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
- พยายามใช้แสงแดดในการตากเสื้อผ้า
- การเปิดหน้าต่างรับลมแทนการใช้เครื่องปรับอากาศ
- เลือกใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ตามข้อใดไม่จําเป็นต้องนํามาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
- การเกิดรอยเลื่อนรอยแตกแยกและการคดโค้งโก่งงอของเปลือกโลก
- ระดับน้ำทะเลรุกล้ำแผ่นดินและผิวโลกมากขึ้น
- การเกิดพายุหมุนที่รุนแรงและมีจํานวนมากขึ้น
- การหลอมเหลวของธารน้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูง
- พื้นที่ต่างๆ เกิดแผ่นดินถล่มทลายและเกิดไฟป่าเพิ่มมากขึ้น
พฤติกรรมการกระทําของใคร เป็นการปลดปล่อยความร้อนเข้าสู่บรรยากาศของโลกน้อยที่สุด
- คุณต้อยใช้เครื่องออกกําลังกายที่ปุ่นด้วยเท้าในศูนย์สุขภาพ
- คุณตุ้มตั้งโรงงานผลิตอิฐบล็อก
- คุณต้อมบุกเบิกป่าขยายพื้นที่ปลูกพืชไร่
- คุณต้อยเผาป่าเพื่อเก็บของป่าไปขาย
- คุณโต้ขับรถแท็กซี่มา 20 ปี
-
ข้อใดไม่ใช่วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การประกาศเขตป่าเสื่อมโทรม
- การเกิดแผ่นดินไหว
- ความตื้นเขินของแหล่งน้ำ
- ผลจากเอลนิโญ-ลานินญ่า
- ความจํากัดของจํานวนที่ดิน
จากภาพ การสรุปลักษณะเด่นตามข้อใดที่ตั้งชื่อได้ถูกต้อง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทรัพยากรกายภาพที่ปรากฏในพื้นที่ได้ชัดเจนที่สุด และนำไปสู่การเกิดภูมิสังคมพืชไร่พืชสวน และนาข้าวได้ดี
- ลานตะพักลำน้ำ
- พื้นที่เนินตะกอนรูปพัด
- พื้นที่ราบน้ำท่วมถึง
- แนวสันปันน้ำ
- แอ่งแผ่นดินทั้งลุ่มน้ำ
ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของธารน้ำไหลในระบบแม่น้ำมีความหลากหลายของอนุภูมิสัณฐาน ทั้งที่ราบน้ำท่วมถึงขนาดใหญ่ คันดินธรรมชาติ สันทรายชายฝั่งงอก ทะเลสาบรูปแอก ที่ลุ่มชื้นแฉะหลังคันดิน และดินดอนสามเหลี่ยมกว้างใหญ่ ถ้าต้องการศึกษาและสำรวจทรัพยากรกายภาพด้วยลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว ซึ่งมักประสบอุทดภัยแผ่เป็นบริเวณกว้างใหญ่มากของประเทศไทย ควรประเมินตัดสินใจเลือกพื้นที่ตามข้อใด
- ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคกลางและภาคเหนือ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
- ภาคใต้และภาคกลาง
- ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก
ข้อใดคือสาเหตุและเป้าหมายที่ครอบคลุมที่สุดที่ทําให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวโลก
- สนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามความต้องการของมนุษย์
- ตั้งใจที่จะสร้างสภาวะนิเวศวิทยาใหม่ให้โลกเกิดความยั่งยืนทางนิเวศมากยิ่งขึ้น
- เพื่อการสร้างและรักษาสภาวะสมดุลของเปลือกโลก
- ต้องการเพิ่มพื้นที่ผิวโลกใช้ประโยชน์กระทํากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
- ต้องการใช้ประโยชน์จากการเกิดลักษณะเฉพาะทางชีวภาพที่แตกต่างจากส่วนอื่นของโลก
การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพโดยมนุษย์ด้วยการสร้างโพลเดอร์ (Polder) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่งผลกระทบต่อภูมิสังคมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนใดมากที่สุด
- ชุมชนชาวประมง
- ชุมชนเลี้ยงปศุสัตว์
- ชุมชนเกษตรกรพืชผัก
- ชุมชนท่าเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเลเพื่อการส่งออก
- ชุมชนผู้ปลูกดอกทิวลิปและไม้ดอกอื่นๆ
แนวโน้มวิกฤตการณ์ที่ดินและทรัพยากรดินในเชิงปฐพีวิทยาที่น่าเป็นห่วงที่สุดในอนาคต คือข้อใด
- ดินเสื่อมสภาพและขาดความอุดมสมบูรณ์
- การจํากัดจํานวนและขนาดการเป็นเจ้าของที่ดิน
- การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินสู่อุตสาหกรรม
- ปัญหาการขาดกรรมสิทธิ์ครอบครองและถือครองที่ดิน
- การเกิดแผ่นดินทรุดและภัยพิบัติธรรมชาติต่อที่ดิน
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดินจากอดีตสู่ปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากขนาดพื้นที่และร้อยละของการใช้ที่ดิน ทําให้ประเมินสรุปได้ว่าประเทศไทยยังมีลักษณะสังคมเด่นชัดตามข้อใด
- ภูมิสังคมเกษตรกรรม
- ภูมิสังคมอุตสาหกรรม
- ภูมิสังคมเทคโนโลยีดิจิทัล
- ภูมิสังคมอุตสาหกรรมการเกษตร
- ภูมิสังคมแบบการค้าพาณิชย์และการบริการ
ประเทศไทยมีพื้นที่ราบ ที่ลุ่ม ที่ชุ่มชื้น เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจึงต้องเป็นสมาชิกและปฏิบัติตามกฎหมายใด
- อนุสัญญาแรมซาร์
- พิธีสารเกียวโต
- สนธิสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาเวียนนา
อนุสัญญาข้อใดช่วยไม่ให้เกิดเหตุการณ์นำเข้าขยะปนเปื้อนสารเคมีจำนวนมากจากต่างประเทศ
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาเวียนนา
- อนุสัญญากรุงโตเกียว
การรณรงค์ในข้อใดสนับสนุนการปฏิบัติตามอนุสัญญาเวียนนาโดยตรงของประเทศไทย
- ปรับลดการใช้สารฮาลอนในกิจกรรมต่างๆ
- อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ไม่นำเข้ากากของเสียอันตรายจากต่างประเทศ
- ไม่จำหน่ายสัตว์ป่าและพืชป่า
- แบ่งปันผลประโยชน์การใช้ทรัพยากรพันธุกรรม
ข้อใดไม่ใช่พันธกรณีที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานโจฮันเนสเบิร์ก
- การแก้ไขการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง
- กาพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
- การพัฒนาที่ยั่งยืนในแอฟริกา
- สุขภาพอนามัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- การขจัดความยากจน
อนุสัญญาใดช่วยแก้ปัญหามลพิษจากพลังงานถ่านหินในชั้นบรรยากาศ
- อนุสัญญาเวียนนา
- อนุสัญญาโตรอนโต
- อนุสัญญารอตเตอร์ดัม
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หัวข้อการประชุมเรื่องใดไม่ใช่แนวทางการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การจัดการของเสียที่เป็นอันตราย
- การพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ภูเขา
- การคุ้มครองและการจัดการมหาสมุทร
- การแก้ไขการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง
- การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
ถ้าต้องการความช่วยเหลือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชน จากองค์กรเอกชนต้องติดต่อประสานความร่วมมือกับองค์กรใด
- สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- องค์การจัดการน้ำเสีย
- สํานักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทย
- องค์การพฤกษศาสตร์แห่งชาติ
- ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
ถ้าหากระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศใดๆ สูญเสียไป ควรใช้กฎหมายใดจึงจะฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมดุล
- อนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาพิธีสารโตเกียว
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศ